เมนู

สามารถแห่งความพยายาม. ญาณในวีริยารัมภะนั้น. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า อสลฺลีนตฺตา ปหิตตฺตา ดังนี้บ้าง, ความว่า เพราะไม่หดหู่,
เพราะไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิต. ปาฐะแรกนั่นแล ถูก. แต่อาจารย์
บางพวก พรรณนาไว้ว่า ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ คือ สติ,
ธรรมวิจยะ, วีริยะ, ปีติ ชื่อว่า อสัลลีนัตตา, ความพร้อมเพรียงแห่ง
โพชฌงค์ คือ สติ, สมาธิ, ปัสสัทธิ, อุเบกขา ชื่อว่า ปหิตัตตา,
ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ทั้ง 7 ชื่อว่า ปัคคหัฏฐะ ดังนี้.

39. อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณุทเทส


ว่าด้วย อัตถสันทัสนญาณ


บัดนี้ เพื่อแสดงว่า ธรรมเทศนาอันท่านผู้บรรลุมรรคผล อัน
สำเร็จด้วยสัมมาวายามะ พึงกระทำเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกดังนี้
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จึงยกอัตถสันทัสนญาณขึ้นแสดงต่อจาก
วีริยารัมภญาณนั้น.
ในอัตถสันทัสนญาณนั้น คำว่า นานาธมฺมปฺปกาสนตา -
การประกาศธรรมต่าง ๆ ความว่า การแสดง การเทศนา โดยการ
ประกาศธรรมต่าง ๆ คือ สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวง. ก็การ
ประกาศนั่นแหละ ชื่อว่า ปกาสนตา.